Terapeak 3.0: Search แรกของคุณ

Terapeak 3.0: Search แรกของคุณ

เผยแพร่เมื่อ 11. May, 2007 โดย ในหมวด ติดอาวุธ

ขั้นที่ 1 – การใช้งาน Search Toolbar

เมื่อคุณต้องการค้นหาข้อมูลของสินค้าใดก็ตาม ให้เริ่มต้นด้วยการใส่ชื่อสินค้านั้นๆ (ชื่อที่ปรากฎอยู่ใน Title ของสินค้า) ลงในช่อง A เช่น ถ้าคุณต้องการค้นหาสินค้าที่มีคำว่า thai ก็ให้ระบุลงในช่องนี้ว่า thai

ค้นหาสินค้าที่ต้องการวิจัย

ค้นหาสินค้าที่ต้องการวิจัย

คุณสามารถเจาะจงหมวดสินค้า (Category) ที่ต้องการให้ค้นหาโดยเฉพาะได้ที่ช่อง B เช่น Jewelry & Watches โปรแกรมก็จะค้นหาเฉพาะสินค้าที่มีคำว่า thai และอยู่ในหมวด Jewelry & Watches

ช่อง C คือจำนวนวันที่คุณต้องการให้ค้นหาสินค้านั้นๆ สามารถระบุได้ทั้งแบบ 1 วัน 7 วัน และ 30 วัน เช่น ถ้าระบุ 7 Days จะหมายถึงให้ค้นหาสินค้าย้อนหลังไป 7 วัน เพื่อดูว่าในช่วงเวลาหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมาเกิดอะไรขึ้นกับสินค้าบ้าง (วันที่ล่าสุดที่สามารถเลือกได้จะล่าช้ากว่าวันปัจจุบันประมาณ 5 – 7 วัน เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ต้องเก็บข้อมูลและประมวลผล)

ระบุช่วงวันที่ต้องการค้นหา

ระบุช่วงวันที่ต้องการค้นหา

ที่ไอคอนปฏิทิน D คุณสามารถคลิกเพื่อระบุช่วงวันที่ที่ต้องการให้ค้นหาสินค้า โดยสามารถระบุย้อนหลังได้ 90 วัน เช่น ถ้าคุณเลือกวันที่ 8 April และเลือกจำนวนวันแบบ 7 Days โปรแกรมจะค้นหาสินค้าที่อยู่ในช่วงวันที่ 2 – 8 April

คุณสามารถเลือกได้ว่าจะค้นหาสินค้าจากเว็บไซต์ eBay ในประเทศใดที่ช่อง E ซึ่งเหมาะสำหรับในกรณีที่คุณต้องการขายสินค้าในประเทศอื่นๆ นอกเหนือจาก eBay.com

และสุดท้ายคือการเลือกประเภทของข้อมูลที่คุณต้องการที่ตัวเลือก F ซึ่งคุณสามารถเลือกได้ 3 แบบคือ Closed Listings, Seller ID หรือ Categories

Closed Listings คือการค้นหาข้อมูลสินค้าที่ปิดประมูลไปแล้ว

Seller ID คือการค้นหาข้อมูลโดยระบุชื่อของผู้ขายคนนั้น เพื่อดูว่าช่วงเวลาที่ผ่านมา ผู้ขายได้ใช้กลยุทธ์การขายอย่างไรบ้าง คุณสามารถค้นหาได้ทั้งข้อมูลของคู่แข่ง หรือแม้กระทั่งข้อมูลของตัวคุณเอง

Category คือการค้นว่าสินค้าที่คุณกำลังค้นหาอยู่ในหมวดสินค้าใดบ้าง ซึ่งคุณสามารถดูแนวโน้มของหมวดสินค้านั้นย้อนหลังได้ 2 ปี

เมื่อระบุเงื่อนไขการค้นหาครบตามที่ต้องการแล้ว ก็จะได้ผลลัพธ์ออกมาดังรูปครับ

คลิกเพื่อดูภาพขยาย

คลิกเพื่อดูภาพขยาย

ขั้นที่ 2 – ค้นให้ละเอียดเพื่อผลลัพธ์ที่ถูกต้อง

การระบุเงื่อนไขการค้นในขั้นที่ 1 อาจจะยังไม่เฉพาะเจาะจงมากพอ ในบางครั้งคุณอาจจะต้องการค้นหาสินค้าที่อยู่ในหมวดสินค้าย่อยของ Jewelry & Watches อีกที หรืออาจจะต้องการค้นเฉพาะสินค้าที่มีราคาปิดประมูลอยู่ในช่วงที่ต้องการ หรือต้องการค้นหาสินค้าที่มีคำว่า thai แต่ไม่มีคำว่า gold คุณก็สามารถใช้เทคนิคการค้นเพิ่มเติมได้ดังนี้

ค้นในหมวดสินค้าย่อย

จากตัวอย่างการค้นสินค้าที่มีคำว่า thai และอยู่ในหมวด Jewelry & Watches คุณจะพบรายชื่อหมวดสินค้าย่อยทางคอลัมน์ด้านซ้ายมือ เช่น Loose Beads ซึ่งมีสินค้าที่มีคำว่า thai อยู่ 1,737 รายการ หรือ Necklaces & Pendants มีสินค้าอยู่ 246 รายการ คุณสามารถคลิกเข้าไปดูในหมวดย่อยได้ เช่น ถ้าคลิกหมวดสินค้า Loose Beads ก็จะพบหมวดสินค้า Metals และ Stone

เลือกหมวดสินค้า

เลือกหมวดสินค้า

เลือกหมวดสินค้าย่อย

เลือกหมวดสินค้าย่อย

การค้นหาโดยระบุหมวดสินค้าย่อยให้มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น จะช่วยเพิ่มความละเอียดของผลลัพธ์ให้สูงขึ้น คุณจะได้รับข้อมูลของสินค้าที่ตรงกับที่คุณต้องการจริงๆ

การใช้ Filter

คอลัมน์ด้านซ้ายมือ บริเวณใต้รายชื่อหมวดสินค้าย่อย คุณจะพบ Filter ที่ใช้กำหนดเงื่อนไขของผลลัพธ์ที่คุณต้องการได้ละเอียดมากขึ้น

Price Ranges คือช่วงราคาปิดของสินค้า ซึ่งโปรแกรมจะแบ่งช่วงและบอกจำนวนสินค้าที่มีราคาปิดอยู่ในช่วงนั้นๆ มาให้ นอกจากนี้คุณยังสามารถระบุช่วงราคาปิดและราคาเปิดประมูลตามที่ต้องการได้

เลือกช่วงราคาปิด

เลือกช่วงราคาปิด

Listing Durations คือจำนวนวันที่เปิดประมูลสินค้า สามารถเลือกได้ตั้งแต่ 1 วัน 3 วัน 5 วัน 7 วัน และ 10 วัน

เลือกจำนวนวันที่สินค้าถูกลิสต์

เลือกจำนวนวันที่สินค้าถูกลิสต์

Listing Types คือประเภทของการขายสินค้า มีตัวเลือกคือ Bid Auctions เป็นการขายแบบประมูล Multiple Item ขายแบบมีสินค้าหลายชิ้น Fixed Price ขายแบบตั้งราคาตายตัว Store ขายจากหน้าร้านค้าของผู้ขาย Second Chance ขายสินค้าชนิดเดียวกันให้ผู้ซื้อที่ไม่ชนะประมูล และ Live Auction ขายแบบประมูลในเวลาจริง

เลือกประเภทของลิสต์

เลือกประเภทของลิสต์

Listing Promotion คือฟีเจอร์เสริมที่ผู้ขายเลือกใช้เพื่อดึงดูดให้ผู้ซื้อมองเห็นสินค้าและคลิกเข้ามาดูรายละเอียดของสินค้าเพิ่มากขึ้น

เลือกฟีเจอร์เสริม

เลือกฟีเจอร์เสริม

Time of Day คือช่วงเวลาที่สินค้าถูกลิสต์ขึ้นไปบนเว็บไซต์

เลือกช่วงเวลาที่สินค้าถูกลิสต์

เลือกช่วงเวลาที่สินค้าถูกลิสต์

Seller ID คือชื่อของผู้ขาย

ระบุชื่อผู้ขาย

ระบุชื่อผู้ขาย

การใส่ Filter จะช่วยให้คุณได้ผลลัพธ์ที่ตรงตามความต้องการมากขึ้น เช่น ถ้าสินค้าของคุณมีราคาแพง คุณอาจจะเลือก Price Ranges ในช่วง $28.00 – $499.99 เพื่อหลีกเลี่ยงสินค้าที่มีราคาถูกกว่านี้

การตัดคีย์เวิร์ดออกจากผลลัพธ์

เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง โดยการระบุว่าต้องการคีย์เวิร์ดใด และไม่ต้องการคีย์เวิร์ดใด สำหรับคีย์เวิร์ดที่ไม่ต้องการให้ถูกค้นหา ให้ใส่เครื่องหมายลบ (-) หน้าคีย์เวิร์ดคำนั้น เช่น “sweater -used” หมายถึง เสื้อ sweater ที่ไม่มีคำว่า used

ตัดคีย์เวิร์ดออกจากผลลัพธ์

ตัดคีย์เวิร์ดออกจากผลลัพธ์

« เริ่มต้นกับ Terapeak 3.0 | ดูข้อมูลแนวโน้มย้อนหลัง 2 ปี »

สารบัญ

แท็ก: ,

Leave a reply