
eBay Fee Caluculator คิดก่อนขาย กำไรหรือขาดทุน?
เผยแพร่เมื่อ 21. May, 2007 โดย MacroArt ในหมวด ต้องอ่าน!, ติดอาวุธ
นักขายหลายคนที่ทำธุรกิจอยู่ในหมวดสินค้าที่มีการแข่งขันกันสูง ผู้ขายแต่ละคนชอบใช้กลยุทธ์ตั้งราคาแบบ $0.99 และต้องไปรอลุ้นกันเอาเองว่าสุดท้ายแล้วจะกำไรหรือขาดทุน ทำให้นักขายจะต้องใช้กลยุทธ์ราคา $0.99 ด้วย เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ จนลืมไปว่าเราทำธุรกิจเพื่อ “กำไร” ไม่ใช่ทำเพื่อให้ “ขายได้”
นักขายอีกหลายคนที่รู้ว่าตัวเองมีต้นทุนสินค้าเท่าไหร่ และประเมินได้ว่าสินค้าชนิดนี้ขายบน eBay ได้ราคาเท่าไหร่ ก็เลยตีว่าส่วนต่างนี้คือกำไร แต่กลับมองข้ามต้นทุนค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่ต้องจ่ายให้ทั้ง eBay และ PayPal พอคิดออกมาจริงๆ กลับพบว่าขาดทุน เพราะกำไรที่ได้มาต้องเอาไปจ่ายค่าธรรมเนียมหมด
จะดีไหมครับถ้าเรารู้ก่อนว่าเราจะกำไรหรือขาดทุน ก่อนที่เราจะลิสต์สินค้าออกไป ไม่ใช่ว่าขายได้แล้วถึงเพิ่งรู้ตัวว่าขาดทุนยับเยิน
มีคนใจดีทำโปรแกรม eBay Calculator ออกมาให้ใช้งานแบบฟรีๆ ไม่คิดสตางค์ สามารถเรียกใช้งานผ่านเว็บไซต์ได้ทันทีที่ eBay Fee Calculator

หน้าจอหลักของ eBay Fee Calculator
โปรแกรมประกอบด้วยส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้ครับ
Type Of Auction

เลือกประเภทของลิสต์
คุณจะต้องเลือกประเภทของลิสต์ว่าเป็นแบบประมูลธรรมดา (No Reserve Auction) ประมูลแบบมีการกำหนดราคาขั้นต่ำ (Reserve Auction) หรือแบบราคาตายตัวที่สามารถซื้อได้เลย (Fixed Price Auction)
นอกจากนี้แล้วถ้าคุณลงประกาศเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ หรือประกาศขายรถยนต์ ก็สามารถเลือกได้จากส่วนนี้
Listing Upgrades

เลือก Listing Upgrades ที่ใช้
พวก Upgrades ที่ทำให้ลิสต์ของคุณดูโดดเด่นน่าคลิกเข้าไปชมรายละเอียด ในที่นี้ก็แล้วแต่ว่าคุณเลือกใช้ Upgrades ตัวไหนบ้าง ในตัวอย่างนี้ผมเลือกใช้ Gallery ครับ
eBay Stores

เลือกจำนวนวันที่สินค้าอยู่ใน eBay Stores
ในกรณีที่คุณลิสต์สินค้าใน eBay Stores ซึ่งมีค่าธรรมเนียมที่แตกต่างไปจาก Auction ก็ให้คลิกเลือกจำนวนวันที่คุณต้องการให้สินค้าของคุณปรากฎอยู่ใน eBay Stores ครับ แต่ถ้าคุณลิสต์แบบ Auction ธรรมดา ก็ให้เลือก Off ไป
Category Specific

เลือกหมวดสินค้าเฉพาะ
ส่วนนี้คงไม่ค่อยมีใครใช้ นอกจากว่าคุณจะลิสต์สินค้าอยู่ในหมวดธุรกิจและอุตสาหกรรม
PayPal

ระบุรายละเอียดของ PayPal
เป็นอีกส่วนหนึ่งที่คุณจะต้องเปลี่ยนแปลงค่าให้ต่างไปจากเดิมที่มีอยู่ ในกรณีที่บัญชี PayPal ของคุณเป็นบัญชีแบบ Thai (ลงทะเบียนที่อยู่ของเจ้าของบัญชีว่า Thailand) คุณจะต้องตั้งค่า Payment coming from: “USA” going to: “Other” เนื่องจากคุณต้องการรับเงินจากลูกค้าต่างชาติมาเข้าบัญชีในไทย ซึ่งเป็นการจ่ายเงินแบบ Cross border payment ที่ PayPal เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในอีกอัตรา โดยมีอัตราสูงสุดอยู่ที่ 3.9% + $0.30 และอัตราต่ำสุดอยู่ที่ 2.9% + $0.30
ข้อมูลอีกตัวที่คุณจะต้องระบุก็คือ Monthly Sales Volume หรือยอดขายในหนึ่งเดือน ถ้ายอดขายของคุณเยอะ PayPal จะให้ส่วนลดค่าธรรมเนียมแก่คุณครับ
นอกจากนี้แล้ว คุณยังสามารถเลือกได้ว่าลิสต์นี้สามารถขายสินค้าได้หรือไม่ ถ้าขายได้ (Item Sold) โปรแกรมก็จะคำนวณค่าธรรมเนียมทั้ง Insertion Fee, Upgrade Fee, Final Value Fee และ PayPal Fee ให้ทั้งหมด แต่ถ้าสินค้าขายไม่ได้ (Item Did Not Sell) โปรแกรมจะคำนวณเฉพาะ Insertion Fee และ Upgrade Fee
การคำนวณ

การคำนวณค่าธรรมเนียม
มาถึงส่วนที่สำคัญที่สุดก็คือคอลัมน์ด้านขวามือ คุณจะต้องระบุข้อมูลในช่องที่เป็นสีขาว จากนั้นคลิกปุ่ม Calculate โปรแกรมก็จะคำนวณออกมาและแสดงผลในช่องสีเทาให้ดู
Opening Bid คือราคาเปิดประมูลที่คุณตั้งไว้ ในที่นี้ผมยกตัวอย่างว่าผมใช้กลยุทธ์แบบ $0.99
Listing Duration คือจำนวนวันที่ลิสต์นี้เปิดประมูล ผมเลือกแบบ 7 วันตามปกติ
Closing Bid คือราคาปิดประมูล ทีนี้จะรู้ได้อย่างไรว่าลิสต์ของคุณจะปิดที่ราคาเท่าไร? ถ้าคุณเคยขายสินค้านี้มาก่อนแล้ว ก็อาจใช้ข้อมูลราคาขายเฉลี่ยของคุณเลยก็ได้ แต่ถ้าคุณยังไม่เคยลองขายสินค้านี้มาก่อน ก็อาจจะใช้ข้อมูล Average Sold Price ของ Terapeak แทน ในตัวอย่างนี้ผมให้ราคาปิดประมูลอยู่ที่ $25
S&H Charged ย่อมาจาก Shipping & Handling Charged คือค่าบรรจุหีบห่อและจัดส่งสินค้าที่คุณเรียกเก็บจากลูกค้า ในตัวอย่างนี้ผมเรียกเก็บลูกค้าที่ $7
Actual S&H คือค่าบรรจุหีบห่อและจัดส่งสินค้าที่คุณจ่ายให้แก่ไปรษณีย์ ตัวอย่างนี้ผมใช้ $5
Cost To Acquire คือค่าต้นทุนสินค้าของคุณ สมมุติว่าสินค้าชิ้นนี้มีต้นทุนอยู่ที่ $20

กำไรที่คาดว่าจะได้รับ
หลังจากนั้นก็คลิกที่ปุ่ม Calculate เพื่อคำนวณค่าธรรมเนียมทั้งหมดที่คุณจะต้องจ่าย และหาว่าสุดท้ายแล้วคุณจะได้กำไรหรือขาดทุนกันแน่
จากการคำนวณ สรุปได้ว่าลิสต์นี้คุณจะต้องจ่ายค่า Insertion Fee $0.20 ค่า Upgrade Fee $0.35 ค่า Final Value Fee $1.31 ค่า PayPal Fee $2.35 รวมเบ็ดเสร็จทั้งหมด $4.21 ได้กำไรจากการขายสินค้าชิ้นนี้ $2.79
ถ้าเราลองวิเคราะห์ให้ลึกลงไปอีก คุณขายสินค้าชิ้นนี้ได้ $25 โดยที่มีค่าต้นทุนสินค้า $20 มองผิวเผินเหมือนได้กำไร $5 หรือ 20% แต่คุณโดนค่าธรรมเนียมเข้าไปอีกถึง $4.21 กำไรจริงๆ จะเหลือเพียง $0.79 เท่านั้นนะครับ แต่ที่โปรแกรมแสดงให้เห็นว่าคุณได้กำไร $2.79 ก็เพราะว่าคุณได้กำไรจากค่าส่ง $2
กำไรของสินค้าชิ้นนี้ไม่ได้อยู่ที่ตัวสินค้าเอง แต่กลับไปอยู่ที่ค่าส่งซะนี่

กำหนดกำไรที่ต้องการ
นอกจากนี้แล้ว eBay Fee Calculator ยังสามารถคำนวณย้อนกลับได้ โดยที่คุณตั้งเป้าหมายกำไรที่คุณอยากได้ เพื่อให้โปรแกรมคำนวณว่าถ้าคุณต้องการกำไรเท่านี้ คุณควรจะเรียกเก็บค่าส่งสินค้าจากลูกค้าเท่าไร
แต่ผมไม่แนะนำให้ใช้โปรแกรมนี้คำนวณนะครับ เนื่องจากเท่าที่ทดลองใช้ดู โปรแกรมยังคำนวณเรื่องนี้ผิดพลาดอยู่ ให้คุณใช้วิธีปรับตัวเลข S&H Charged ให้เพิ่มขึ้นเพื่อดูว่า Net Profit จะเพิ่มขึ้นเท่าไรดีกว่าครับ
ข้อมูลเพิ่มเติม
10 Comments
noparat satjapornthep
24. Aug, 2007
อ่านการคำนวณภาคภาษาไทย เข้าใจดีมาก ทำให้มั่นใจมากขึ้น ขอบพระคุณหลาย ๆ
ขายอีเบย์ เสียค่าอะไรบ้าง | Thai Ebay Class
01. Nov, 2007
[…] ลองเข้าไปดูได้ที่ Thaiebay Bible ของคุณ บอย จอมกลยุทธ์ิ […]
กาแฟสด
27. Feb, 2008
เข้าไปดูตัวระบบทีนึงแล้วครับ มึนมาก
Onewitwo
08. Mar, 2008
ขอบคุณมากค่า อธิบายชัดเจน+เข้าใจง่าย จะลองนำไปใช้ดู ขอบคุณค่ะ
โดด
16. Mar, 2008
เราจะส่งของให้เค้ายังไงอ่ะคะ
แล้วจะคำนวณค่าส่งยังไง ขอบคุณค่ะ
Appy
14. May, 2009
Very good.. hope will update new information soon.. 🙂
Narupon
28. Aug, 2009
จะส่งของยังไง ถ้า ลูกค้าอยู่ต่างประเทศ
ชาญ
28. Dec, 2009
บทความนี้เขียนได้ดีมาก เป็นประโยชน์อย่างสูงในการเตือนผู้ขายบน eBay มั้งหลาย อย่ามองข้ามค่าธรรมเนียมที่โหด (รวมของ PayPal ด้วย)
จริง ๆ แล้ว คนที่ได้กำไรมากที่สุดคือ 2 บริษัทนี้ เขาได้ทั้งขึ้นทั้งล่อง เก็บกำไรแบบแน่ ๆ โดยที่ไม่ต้องทำอะไรกับสินค้าของเรา นะจะมีการลดค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ให้ลดลง
ขอบคุณมากสำหรับผู้เขียนบทความนี้ (MicroArt)
ประพันธ์ (ปืน)
17. Mar, 2010
ขอบคุณมากครับ กำลังศึกษาอยู่พอดี ว่าจะลองหาอะไรมาขายดูสักชิ้นนึง เผื่อจะมีรายได้เสริมครับ ขอขอบคุณอีกครั้ง
Opal
23. Jun, 2010
ขอบคุณมากๆ ค่ะ อธิบายได้ชัดเจน เข้าใจง่ายมากเลยค่ะ
ความรู้เพิ่มขึ้นอีกเยอะเชียว
Leave a reply